วันจันทร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

      เยาวชนกับยาเสพติด


   เมื่อพูดถึงปัญหายาเสพติด คนส่วนใหญ่ก็มักจะมุ่งความสนใจไปที่กลุ่มผู้ผลิตผู้ค้าและ  ผู้เสพยาเสพติด โดยเฉพาะผู้เสพยาเสพติดที่เป็นเยาวชน ซึ่งเป็นผู้เสียหายโดยตรงจึงทำให้ ้ทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นบิดามารดา ครู ผู้ปกครอง องค์กรภาครัฐ และภาคเอกชน ตลอดจน สื่อมวลชนต่างก็ให้ความสนใจที่จะเข้ามามีส่วนร่วม ในการ ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด โดยเฉพาะการพยายามสื่อสารเพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องแก่เด็กและเยาวชน ให้มีชีวิตที่ดีงาม
ห่างไกลจากยาเสพติด ซึ่งต้องระมัดระวังทั้งในเรื่องของการสรรหาวิธีการและเลือกเฟ้นเนื้อหา ข้อความที่เข้าถึงเยาวชนได้ตรงจุด ทั้งนี้เพราะเด็กและเยาวชน นั้นจะมีลักษณะพิเศษ เช่น ไม่ชอบให้ใครว่ากล่าว ตักเตือนตรง ๆ โดยเฉพาะผู้ใหญ่แต่จะรับข่าวสารข้อมูล ได้มากขึ้นถ้า เยาวชนด้วยกันเป็นผู้ให้ข่าวสารข้อมูลนั้น หรือตนเองเป็นผู้มีส่วนร่วมในการสื่อสารด้วย สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (สำนักงาน ป.ป.ส.) จึงได้จัดรายการ  โทรทัศน์เพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในกลุ่มเยาวชนไทยขึ้น คือ รายการฮัลโหล ไทยทีน” (HelloThai Teen) ซึ่งเป็นรายการโทรทัศน์เพื่อการป้องกันยาเสพติดของเยาวชน โดยเยาวชน และเพื่อ เยาวชน รายการ ฮัลโหล ไทยทีนเผยแพร่ออกอากาศทั่วประเทศทาง สถานีโทรทัศน์ ช่อง 11 กรมประชาสัมพันธ์ ทุกวันอาทิตย์ เวลา 18.02 - 18.30 น.
 เป็นประจํ า


อิทธิพลของเพื่อน           
เพื่อนเป็นคนสำคัญของเราก็จริงอยู่ แต่ถ้าเพื่อนมีอิทธิพลต่อเราในทางที่ไม่ดี พาไปเสีย   ผู้เสียคนในฐานะที่เราเป็นเพื่อนก็ต้องให้สติด้วยการตักเตือน และปฏิเสธไม่ทำตามและชักจูง  ให้เขาได้ใช้ชีวิตที่ถูกต้อง และดีงาม แต่ถ้าหากเป็นเรื่องที่ยุ่งยากเหลือบ่ากว่าแรงก็คงต้องโบก มือลาเลิกคบเสียดีกว่า ถือคติที่ว่า “มีเพื่อนดีเพียงหนึ่ง ถึงจะต้อง ดีกว่าเพื่อนร้อยเพื่อนเลว”


ถ้าเป็นเรื่องยาเสพติด ไม่จำเป็นต้องพิสูจน์ด้วยตนเอง เรื่องบางเรื่องจำเป็นต้องพิสูจน์   ด้วยตนเองแล้ว จึงเชื่อ แต่เรื่องยาเสพติดไม่จำเป็นต้องพิสูจน์ด้วยตนเอง เพราะกาลเวลาผ่านมา   กี่ยุคกี่สมัย ยาเสพติดก็ยังเป็น สิ่งที่มีโทษพิษภัยต่อร่างกาย และมีผลกระทบทำลายครอบครัว ชุมชน และความมั่นคงของประเทศชาติ หากลูกหลายจะลงทุนพิสูจน์ยาเสพติด ด้วยการ  ทดลองใช้ด้วยตนเองก็เป็นการลงทุนที่สูงมาก ไม่คุ้มกับการลงทุนเพราะยาเสพติดมีฤทธิ์ ทางเภสัช ทำให้เสพติดได้ และเลิกได้ยาก บางทีอาจสูญเสียเวลา และอนาคตกับเรื่องนี้ ี้ไปตลอดชีวิต เพราะฉะนั้นอย่าได้คิดทดลองเลยจะดีกว่า


 เยาวชนจะต้องรู้เท่าทันผู้ค้ายาเสพติด      
      เยาวชนส่วนใหญ่อยู่ในวัยเรียน มีเงินอยู่ในกระเป๋าเสมอสําหรับค่าขนม และค่าใช้จ่าย   ส่วนตัวที่จำเป็น ซึ่งพ่อแม่และผู้ปกครองให้มา จึงทำให้ผู้ลักลอบค้ายาเสพติด  มีความมั่นใจ ว่าการค้ายาเสพติด ให้กับเยาวชน นั้นจะทำให้มีลูกค้าอยู่สม่ำเสมอ และใช้กลยุทธในการขาย  แบบขายตรง(Direct sale) ในกลุ่มเพื่อนสนิท และด้วยความเป็นเพื่อนสนิท จึงไม่กล้าเปิดเผย   ความผิดของเพื่อน และไม่กล้า ปฏิเสธเพื่อน จึงทำให้การแพร่ ่ระบาด ยาเสพติดเป็นไป อย่าง กว้างขวางและรวดเร็ว จึงจำเป็นที่เยาวชนจะต้องรู้เท่าทันกลลวงของผู้ค้า ยาเสพติดที่จ้อง จะดูดเงินค่าขนมในกระเป๋าของเยาวชนตลอดมา


ติดกีฬาก็มีความสุขได้            
การเล่นกีฬาไม่ใช่เป็นแต่เพียงกิจกรรมทางเลือกที่เบี่ยงเบนความสนใจของเยาวชนให้  ห่างไกลยาเสพติดเท่านั้น แต่ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ เชื่อว่า การออกกำลังกายหรือ   การเล่นกีฬานั้น จะทำให้ต่อมไร้ท่อใต้สมอง หลั่งสาร เคมีชนิดหนึ่งชื่อ “เอนโดฟีน” ออกมา  ซึ่งสารชนิดนี้จะทำให้รู้สึกสดชื่น และ เป็นสุขผู้ที่ออก กำาลังกาย อยู่เสมอจึงมีสุขภาพแข็งแรง สมบูรณ์สมกับที่กล่าวว่า “กีฬา กีฬา เป็นยาวิเศษ” ดังนั้น จึงควรที่จะช่วย กันส่งเสริม ให้เ ยาวชน ได้ออก กำลังกายและเล่นกีฬา เพื่อให้มีสาร “เอนโดฟีน” อยู่ในร่างกายเกิดความสุขได้
โดยไม่ต้องพึ่งพายาเสพติด












การป้องกันยาเสพติด


๑. ป้องกันตนเอง ไม่ใช้ยาโดยมิได้รับคำแนะนำจากแพทย์ และจงอย่าทดลอง เสพยาเสพติด ทุกชนิดโดยเด็ดขาด เพราะ ติดง่ายหายยาก
      ๒. ป้องกันครอบครัว ควรสอดส่องดูแลเด็กและบุคคลในครอบครัวหรือที่อยู่รวมกันอย่าให้ กี่ยวข้องกับยาเสพติด ต้อง คอยอบรมสั่งสอนให้รู้ถึงโทษและภัยของยา-เสพติด หากมีผู้เสพ ยาเสพติด ในครอบครัวจงจัดการให้เข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาล ให้หายเด็ดขาดการรักษาแต่แรก เริ่มติดยาเสพติด มีโอกาสหายได้เร็วกว่าที่ปล่อยไว้นานๆ
      ๓. ป้องกันเพื่อนบ้าน โดยช่วยชี้แจงให้เพื่อนบ้านเข้าใจถึงโทษและภัยของยาเสพติด โดยมิให้ พื่อนบ้าน รู้เท่าไม่ถึงการณ์ ต้องถูกหลอกลวง และหากพบว่าเพื่อนบ้านติด ยาเสพติดจงช่วย แนะนำให้ ไปรักษาตัวที่โรงพยาบาล
       ๔. ป้องกันโดยให้ความร่วมมือกับทางราชการ เมื่อทราบว่าบ้านใดตำบลใด มียาเสพติดแพร่ ่ระบาดขอให้แจ้ง เจ้าหน้าที่ ตำรวจทุกแห่งทุกท้องที่ทราบ หรือที่ศูนย์ปราบปรามยาเสพติด ให้โทษ กรมตำรวจ (ศปส.ตร.) โทร. 2527962 , 0-252-5932 และที่สำนักงาน คณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามยาเสพติด (สำนักงาน ป.ป.ส.) สำนักนายกรัฐมนตรี
โทร. 2459350-9



ยาเสพติดป้องกันได้        ๑. ป้องกันตนเอง ทำได้โดย..
          • ศึกษาหาความรู้ เพื่อให้รู้เท่าทันโทษพิษภัยของยาเสพติด
          • ไม่ทดลองใช้ยาเสพติดทุกชนิดและปฏิเสธเมื่อถูกชักชวน
          • ระมัดระวังเรื่องการใช้ยา เพราะยาบางชนิดอาจทำให้เสพติดได้
          • ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
          • เลือกคบเพื่อนดี ที่ชักชวนกันไปในทางสร้างสรรค์
          • เมื่อมีปัญหาชีวิต ควรหาหนทางแก้ไขที่ไม่ข้องเกี่ยวกับยาเสพติด หากแก้ไขไม่ได้ควร
ปรึกษา ผู้ใหญ่
         ๒. ป้องกันครอบครัว ทำได้โดย
           • สร้างความรัก ความอบอุ่นและความสัมพันธ์อันดีระหว่างสมาชิกในครอบครัว
           • รู้และปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ของตนเอง
           • ดูแลสมาชิกในครอบครัว ไม่ให้ข้องเกี่ยวกับยาเสพติด
           • ให้กำลังใจและหาทางแก้ไข หากพบว่าสมาชิกในครอบครัวติดยาเสพติด
         ๓. ป้องกันชุมชน ทำได้โดย
           • ช่วยชุมชนในการต่อต้านยาเสพติด
           • เมื่อทราบแหล่งเสพ แหล่งค้า หรือผลิตยาเสพติด ควรแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบทันที
ที่...
           • สำนักงาน ป.ป.ส. โทร. 02-2459414 หรือ 02-2470901-19 ต่อ 258
โทรสาร 02-2468526
           • ศูนย์รับแจ้งข่าวยาเสพติด สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โทร. 1688



วิธีสังเกตุอาการผู้ติดยาเสพติด 

           จะสังเกตว่าผู้ใดใช้หรือเสพยาเสพติด ให้สังเกตจากอาการและการเปลี่ยนแปลง  ทั้งทางร่างกายและจิตใจดังต่อไปนี้
                ๑ . การเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย จะสังเกตได้จาก
           - สุขภาพร่างกายทรุดโทรม ซูบผอม ไม่มีแรง อ่อนเพลีย
           - ริมฝีปากเขียวคล้ำ แห้ง และแตก
           - ร่างกายสกปรก เหงื่อออกมาก กลิ่นตัวแรงเพราะไม่ชอบอาบน้ำ
           - ผิวหนังหยาบกร้าน เป็นแผลพุพอง อาจมีหนองหรือน้ำเหลืองคล้ายโรคผิวหนัง
           - มีรอยกรีดด้วยของมีคม เป็นรอยแผลเป็นปรากฏที่บริเวณแขน และ/หรือ ท้องแขน
           - ชอบใส่เสื้อแขนยาว กางเกงขายาว และสวมแว่นตาดำเพื่อปิดบัง ม่านตาที่ ขยาย

                 ๒. การเปลี่ยนแปลงทางจิตใจ ความประพฤติและบุคลิกภาพ สังเกตุได้จาก
          - เป็นคนเจ้าอารมย์ หงุดหงิดง่าย เอาแต่ใจตนเอง ขาดเหตุผล
          - ขาดความรับผิดชอบต่อหน้าที่
          - ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง
          - พูดจากร้าวร้าว แม้แต่บิดามารดา ครู อาจารย์ ของตนเอง
         - ชอบแยกตัวอยู่คนเดียว ไม่เข้าหน้าผู้อื่น ทำตัวลึกลับ
         - ชอบเข้าห้องน้ำนาน ๆ
         - ใช้เงินเปลืองผิดปกติ ทรัพย์สินในบ้านสูญหายบ่อย
         - พบอุปกรณ์เกี่ยวกับยาเสพติด เช่น หลอดฉีดยา เข็มฉีดยา กระดาษตะกั่ว
         - มั่วสุมกับคนที่มีพฤติกรรมเกี่ยวกับยาเสพติด
         - ไม่สนใจความเป็นอยู่ของตนเอง แต่งกายสกปรก ไม่เรียบร้อย ไม่ค่อยอาบน้ำ
         - ชอบออกนอกบ้านเสมอ ๆ และกลับบ้านผิดเวลา
         - ไม่ชอบทำงาน เกียจคร้าน ชอบนอนตื่นสาย
         - มีอาการวิตกกังวล เศร้าซึม สีหน้าหมองคล้ำ

                ๓. การสังเกตุอาการขาดยา ดังต่อไปนี้
         - น้ำมูก น้ำตาไหล หาวบ่อย
         - กระสับกระส่าย กระวนกระวาย หายใจถี่ ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร น้ำหนักลด อาจมีอุจาระเป็นเลือด
         - ขนลุก เหงื่อออกมากผิดปกติ
         - ปวดเมื่อยตามร่างกาย ปวดเสียวในกระดูก
         - ม่านตาขยายโตขึ้น ตาพร่าไม่สู้แดด
         - มีอาการสั่น ชัก เกร็ง ไข้ขึ้นสูง ความดันโลหิตสูง
         - เป็นตะคริว
         - นอนไม่หลับ
         - เพ้อ คลุ้มคลั่ง อาละวาด ควบคุมตนเองไม่ได้








ปัญหายาเสพติดของวัยรุ่น


ยาเสพติดเป็นปัญหาสังคมที่ยิ่งใหญ่ ที่ต้องการการแก้ไขอย่างจริงจังและอย่างจริงใจ ของผู้ที่เกี่ยวข้อง แต่เหนือสิ่งอื่นใด ถ้าท่านเป็นวัยรุ่นที่เลือกหัวข้อนี้ขอบอกทันทีเลยว่า ท่านคือส่วนที่ สำคัญที่สุดในการแก้ปัญหาไม่มีใครที่ติดยาเสพติดโดยที่ตนเองไม่ยินยอมที่จะ เสพ เพราะฉะนั้นคำว่า ไม่เริ่ม...ไม่ต้องเลิก ท่านต้องจำ 5 คำนี้ให้ดี คาถาปัองกันปัญหายาเสพติด
ท่านทราบดีอยู่แล้วว่า ยาเสพติดเป็นสิ่งไม่ดี ดังนั้นท่านต้องหัดปฏิเสธ ท่านต้องเจ้าเล่ห์เพทุบาย  ในการหลบหลีกเลี่ยง การลองยาเสพติด ที่เพื่อนรักของท่านนำมาให้หรือชักจูงท่าน  ด้วยเหตุผล ต่างๆ นาๆ ท่านสามารถ ที่จะบอกว่าท่านมีอาการแพ้สิ่งนั้นอย่างรุนแรง  ท่านมีปอดและระบบ ทางเดินหายใจไม่ดี เสพที่ใด ไอจามทุกที นอนไม่หลับ สารพัดเหตุผลที่ท่านสามารถนำขึ้นมาพูด
กับเพื่อนที่แสนที่จะไม่หวังดีต่อท่าน ถ้าท่านตั้งมั่นในดวงใจอยู่เสมอว่าชั่วชีวิตนี้ท่านจะม่ยอม  ติดยาเสพติดเป็นอันขาด

           ในโลกนี้มีสิ่งที่งดงามสนุกสนานอีกมากมาย ที่ท่านสามารถกระทำได้ โดยไม่ก่อให้เกิด การบั่นทอน สุขภาพร่างกาย และจิตใจของท่าน ท่านทราบดีอยู่แล้วถึงพิษภัยของของยาเสพติด เอ๊ะแล้วทำไมเพื่อนรักของท่านมาชวนท่านเสพยาเสพติด เพื่อนหวังดีกับท่านจริงหรือเพื่อนมี อะไรซ่อนเร้นอยู่ในใจหรือเปล่า เพื่อนเป็นตัวอย่างที่ดีที่ท่านควรทำตามหรือไม่ เพื่อนอยู่ในวงจร อุบาทว์ ที่ท่านควรคิดช่วยเขา แทนที่เพื่อนจะมาชวนท่านเสพ แล้วฉุดท่านเข้าไปอยู่ในวงจร
อุบาทว์นั้นด้วย มันถูกต้องหรือนี่ การเล่นกีฬา เล่นดนตรี ร้องรำทำเพลง เที่ยวเตร่เพื่อความ   สนุกสนาน วาดรูป เล่นเกมส์ต่างๆ ท่องเที่ยวไปในโลกของอินเตอร์เนตในคอมพิวเตอร์ และ กิจกรรมอีกมากมาย ที่จะนำ ความสุขมาสู่ตัวท่าน ท่านต้องรักตัวท่าน ท่านต้องไม่ทำให้คุณพ่อ คุณแม่หรือผู้ปกครองของท่านเสียใจ โปรดเชื่อเถิดว่า เสพยาเสพติดไม่นานเกิน 1 ปีหรอก ร่างกายของท่านจะตกอยู่ ในสภาพที่ย่ำแย่ การบำบัดรักษาให้เลิกยาเสพติด เป็นไปด้วยความยาก ลำบาก ถ้าท่านอยู่ในภาวะที่เศร้าโศกเสียใจ และ ยังแก้ปัญหาในขณะนี้ไม่ได้ ยาเสพติด ไม่ใช่  วิธีแก้ปัญหาของท่านอย่างแน่นอน ขอให้คิดให้ดีและขอ ให้ท่านโชคดีแก้ปัญหาให้ได้





กฎหมายน่ารู้เกี่ยวกับสิ่งเสพติด


กฎหมายเกี่ยวกับผู้มีสิ่งเสพติดไว้ในครอบครอง
กฎหมายเกี่ยวกับสิ่งเสพติดมีอยู่หลายฉบับ แต่เนื่องจากบทลงโทษกำหนดไว้ สถานเบาซึ่ง
เป็นเหตุให้ผู้ค้าสิ่งเสพติดไม่กลัวเกรง ต่อการกระทำผิดรวมทั้งมีหลายหน่วยงาน  ในการดำเนินการ ทำให้เกิดความสับสนในทางปฏิบัติ รัฐจึงได้ดำเนินการแก้ไข
ปรับปรุง โดยร่างพระราชบัญญัต ิยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ขึ้น ดังนั้นพระราชบัญญัต ิยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522
จึงเป็นกฎหมายสำคัญในการปราบปรามผู้กระทำผิดเกี่ยวกับสิ่งเสพติด กฎหมายเกี่ยวกับผู้มี  สิ่งเสพติดไว้ในครอบครอง พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 กำหนดโทษไว้
ดังนี้
 


        มีไว้ครอบครอง
      มีบางมาตราบัญญัติเป็นข้อสันนิษฐานของกฎหมายไว้ว่า "ในกรณีมีเฮโรอีนไว้ในครอบ ครอง  ตั้งแต่ 20 กรัมขึ้นไป กฎหมายถือว่ามีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย แต่ทั้งนี้มิได้หมาย ความว่า ถ้ามีเฮโรอีนไว้ในครอบครองไม่ถึง 20 กรัม จะตั้งข้อหาว่ามีไว้ในครอบครองเพื่อ จำหน่ายไม่ได้ ถ้ามีพยานหลักฐานอื่นที่แน่นอน ก็สามารถที่จะตั้งข้อหาได้" โทษสูงสุดถึง  ประหารชีวิต โทษต่ำสุดจำคุกตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป โทษปรับตั้งแต่ 5,000 บาท ถึง
500,000 บาท ความผิดคดีสิ่งเสพติดให้โทษทั่วไป เช่น มอร์ฟีน โคเคน หรือฝิ่น มีโทษ สูงสุดถึง จำคุกตลอดชีวิต ความผิดเกี่ยวกับสิ่งเสพติด เช่น กัญชา กระท่อม โทษสูงสุด คือ
จำคุก 15 ปี และโทษปรับสูงสุด 150,000 บาท